แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับศิลาอาถรรพ์ กวาดรายได้จากบ็อกซ์ออฟฟิศทั่วโลกทะลุ 1,000 ล้านดอลลา
20 ปีให้หลังจากที่ลงจอฉายครั้งแรก มาถึงตอนนี้ “แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับศิลาอาถรรพ์” ก็กวาดรายได้จากบ็อกซ์ออฟฟิศทั่วโลกทะลุ 1,000 ล้านดอลลาร์ หรือราว 31,000 ล้านบาทแล้ว ซึ่งต้องขอบคุณโรงภาพยนตร์ 3D และ IMAX ในประเทศจีนที่ทำให้ภาคแรกของเด็กชายผู้รอดชีวิตในโลกเวทมนตร์มาไกลถึงระดับนี้
“แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับศิลาอาถรรพ์” กลับมาเป็นที่ 1 ในบ็อกซ์ออฟฟิศประเทศจีนอีกครั้งเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา และทำรายได้ 13.6 ล้านเหรียญ หรือราว 424 ล้านบาทในการลงจอฉาย 16,000 โรง ทำให้ภาคแรกของ “แฮร์รี่ พอตเตอร์” ทำรายได้ทะลุ 1,001 ล้านเหรียญ และกลายเป็นภาพยนตร์ในจักรวาล “แฮร์รี่” ตอนที่ 2 ที่ทำรายได้ทะลุ 1,000 ล้านเหรียญ หลังจากที่ “แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต พาร์ท 2” ซึ่งเป็นภาคสุดท้ายทำสถิติไว้ที่ 1.34 พันล้านบาททั่วโลก
“แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับศิลาอาถรรพ์” ลงจอครั้งแรกในปี 2001 ขณะที่ทั่วโลกตื่นเต้นกับโลกเวทมนตร์จากปลายปากกาของ เจ.เค โรลลิ่ง
แต่กลับไม่ได้ลงโรงในแดนมังกรจนกระทั่งเดือนมกราคมปี 2002 ซึ่งเป็นช่วงเวลาก่อนที่ทั่วโลกจะสนใจตลาดภาพยนตร์จีน
ซึ่งการกลับมาลงโรงอีกครั้งในประเทศจีนนั้นซึ่งรายได้เพียงแค่ 3 วันแรกนั้นทำเงินได้มากกว่าช่วงเวลาที่ลงโรงไปเมื่อ 19 ปีที่แล้วซะอีก
โดยไม่นานมานี้ก็มีการจัดทำ หนังสือดังกล่าวนั้น เป็นหนังสือชุด “แฮร์รี่ พอตเตอร์” ของ เจ.เค.โรว์ลิ่ง ครบถ้วนทุกเล่ม รวมทั้งสิ้น 7 เล่ม 7 ตอน
เห็นได้ชัดเจนว่าเพิ่งพิมพ์เสร็จใหม่ๆหมาดๆ ภาพปกสีขรึมๆ แต่ก็ดูมีออร่า มีประกายอยู่ในตัว โดยเฉพาะภาพวาดของตัวละครต่างๆ ดูมีชีวิตชีวา แตกต่างจากชุดก่อน
ครั้นเมื่ออ่านจดหมายจากฝ่ายประชาสัมพันธ์ที่แนบมาด้วยจบแล้วจึงทราบว่า นี่คือการพิมพ์ วรรณกรรมเยาวชน ขวัญใจตลอดกาลเยาวชนทั้งตัวจริงและเยาวชนโข่งไปจนถึง “ชราชน” อย่างหัวหน้าทีมซอกแซก…ขึ้นใหม่อีกครั้ง เนื่องในโอกาสที่วรรณกรรมชุดนี้ได้รับการแปลและตีพิมพ์เป็นภาษาไทยมาครบรอบ 20 ปีพอดิบพอดี
เจอเข้าแบบนี้เห็นทีจะเขียนสั้นๆท้ายคอลัมน์ “เสาร์สารพัน” ไม่ได้แล้วละ น่าจะต้องหยิบมาขยายความเขียนให้เต็มๆใน “ซอกแซก” ฉบับวันอาทิตย์ดีกว่า ในฐานะที่หัวหน้าทีมซอกแซกก็เป็นแฟนคนหนึ่งของ “พ่อมดน้อย” เช่นกัน
ย้อนไทม์ไลน์กลับไปเราจะพบว่า เจ.เค. โรว์ลิ่ง เริ่มเขียน แฮร์รี่ พอตเตอร์ ตอนแรกที่มีชื่อเรื่องในภาษาอังกฤษว่า “Harry Potter and the Philosopher’s Stone” หรือในชื่อภาษาไทยว่า “แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับศิลาอาถรรพณ์” เมื่อปี 1995 ในร้านกาแฟ 2 ร้านใกล้อพาร์ตเมนต์ ที่พักของเธอในเมืองเอดินเบอระ สกอตแลนด์ แต่กว่าจะหาคนพิมพ์ได้ก็ล่วงมาจนถึงเดือนมิถุนายน ค.ศ.1997 หรือ พ.ศ.2540
ดังนั้น เมื่อนับมาถึงปีนี้จึงเท่ากับ แฮร์รี่พอตเตอร์ ฉบับดั้งเดิมจะมีอายุ 23 ปีบริบูรณ์ในเดือนมิถุนายนที่จะมาถึง
แต่เนื่องจากทางนานมีบุ๊คส์ได้นำชุดแรกนี้มาแปลเป็นภาษาไทย โดย “สุมาลี” และตีพิมพ์เป็นครั้งแรกเมื่อเดือนกรกฎาคม ปี 2543 หรือ ค.ศ.2000 จึงเท่ากับว่า “แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับ ศิลาอาถรรพณ์” ชุดพูดไทยบรรยายโวหารเป็นไทย จะมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ในเดือนกรกฎาคม
โดยเหตุที่วรรณกรรมเรื่องนี้มิเพียงจะประสบความสำเร็จในระดับโลกเท่านั้น แต่ประสบความสำเร็จอย่างสูงยิ่งในประเทศไทยด้วย ทางนานมีบุ๊คส์จึงได้ตัดสินใจจัดพิมพ์ใหม่อีกครั้งเพื่อฉลองครบรอบ 20 ปีของแฮร์รี่ พอตเตอร์ ฉบับภาษาไทย โดยจัดพิมพ์ครบทั้ง 7 ตอน ดังที่หัวหน้าทีมซอกแซกแจ้งไว้ตอนต้น…ได้แก่
แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับศิลาอาถรรพณ์, แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับห้องแห่งความลับ, แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับนักโทษแห่งอัซคาบัน, แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับถ้วยอัคนี, แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับภาคีนกฟีนิกซ์, แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเจ้าชายเลือดผสม และ แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับเครื่องรางยมทูต